เป้าหมาย: นักเรียนสามารถอ่านออกเสียงและเขียนแจกลูกคำที่ประสมด้วยสระอุและสระอูได้
|
||||
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
๓
|
โจทย์
- สระอุ อู
การประสมคำ
Key Questions
นักเรียนได้เรียนรู้คำศัพท์อะไรบ้าง จากนิทานได้ฟัง
หลักภาษา - พยัญชนะในภาษาไทย -สระอุ สระอู
เครื่องมือคิด :
Brainstorms : ระดมสมองเพื่อแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับนิทานที่อ่าน
Blackboard
Share : แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับคำศัพท์ที่มีในเนื้อ
Show and Share : ประโยคที่แต่งจากคำศัพท์
Wall Thinking : นิทานและคำศัพท์
สื่อ และแหล่งเรียนรู้ :
-บัตรคำสระอุ สระอู
-เพลงสระอุ สระอู
/watch?v=VCP3pjbqRNU
watch?v=Mxf6OEFSvnE
|
วันจันทร์
ชง:
ครูเปิดเพลงสระอุ
สระอู ให้นักเรียนฟัง พร้อมกับเขียนเนื้อเพลงลงบนกระดาน
เชื่อม
:
ครูพานักเรียนอ่านออกเสียงตามเนื้อเพลงพนกระดาน
-ครูพานักเรียนร้องเพลงสระอุ
สรอู
ใช้ :
ครูพานักเรียนนิ้วมือสระ
โดยม้วนกระดาษให้สวมเข้ากับนิ้วมือทั้ง 5
แต่ละนิ้วเด็กจะเขียนคำที่ประสมด้วยสระอุ และสระอู
วันอังคาร
ชง:
-ครูเล่านิทานเรื่องหนูคู่หู
และสุกรนอนอุตุให้นักเรียนฟัง
-ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันเล่าเรื่องให้เพื่อนๆฟัง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ :
นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์
ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ :
นักเรียนเคยพบเจอเหตุการณ์ลักษณะนี้จากที่ใด และนักเรียนมีวิธีการจัดการอย่างไร
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า
การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่
เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ :
นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องและเขียนแสดงความคิดเห็น เชื่อม:
-นักเรียนร่วมกันพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานที่ได้ฟัง
-นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำศัพท์ที่ปรากฏในเรื่อง
ครูช่วยเขียนคำศัพท์ลงกระดาน
-ครูพานักเรียนอ่านแจกลูกคำศัพท์ที่อยู่บนกระดาน
ชง :
-ครูบัตรคำและรูปภาพมาให้นักเรียนฝึกอ่าน
และฝึกแจกลูกคำลงในสมุดของตนเอง
เชื่อม :
-นักเรียนเขียนคำศัพท์ที่อยู่ในบัตรคำและเขียนแจกลูกคำ
วันศุกร์
-ครูทบทวนคำศัพท์ที่นักเรียนได้ร่วมเรียนจากวันที่ผ่านมา
และฝึกอ่านออกเสียง
-ครูพานักเรียนเล่นเกม
จับคู่คำ โดยครูมีบัตรคำ และ บัตรคำที่เขียนแจกลูกคำให้นักเรียนได้ร่วมกันจับคู่
โดยที่ครูจะแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มกลุ่มละ 3 คน
-นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันจับคู่บัตรคำ
และฝึกอ่านออกเสียงคำที่จับคู่ได้
-นักเรียนนำเสนอคำศัพท์ของกลุ่มตนเองที่จับคู่ได้
|
ชิ้นงาน
- การแจกรูปคำศัพท์
-นิ้วมือสระอุ สระอู
- การเขียนคำศัพท์พร้อมวาดภาพประกอบ
-การเขียนแจกลูกคำ
ภาระงาน - นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับนิทานที่อ่าน - นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการแจกรูปคำศัพท์ที่มีในเนื้อเรื่อง “สุกร นอนอุตุ หนูคู่หู” - เขียนคำศัพท์
-วาดภาพประกอบคำศัพท์
-การทำนิ้วมือสระอุ สระอู
-การร่วมเล่นเกมจับคู่คำ
-เขียนแจกลูกคำ
|
ความรู้
- รู้และเข้าใจพยัญชนะในภาษาไทย
และสระโดยสามารถออกเสียงได้ชัดเจน
- เข้าใจความหมายของคำ
และฝึกสะกดอ่านคำ ตลอดจนเขียนคำศัพท์ แจกรูปคำ และแต่งประโยคสั้นๆจากคำที่มีอยู่ในนิทานได้
ทักษะ
- มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิด ทัศนคติที่มีต่อเรื่องที่อ่านกับเพื่อนในชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์
-
มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- รักการอ่าน
|
ภาพกิจกรรมการเรียนรู้
ฝึกอ่าน ฝึกเขียนแจกรูปคำที่มีสระอุ สระอู
ผลงานของหนู
บันทึกหลังสอน
ในสัปดาห์ที่ 3 พี่อนุบาลเรียนรู้เรื่องของสรระอุ และสระอู สิ่่งที่ทำได้ดีแล้วในสัปดาห์นี้ คือการวางแผนกิจกรรมไว้เพราะในขณะที่สอนนั้นเมื่อเด็กไม่พร้อมกิจกรรมไม่สามารถไปต่อได้ดั้งนั้นกิจกรรมที่เตรียมไว้จึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งการมีแผนสำรองไว้เป็นสิ่งที่ครูต้องเตรียมไว้ทุกครั้งที่สอนเพราะสถานการณ์ของแต่ละช่วงวันและเวลาและความพร้อมของเด็กก็จะแตกต่างกันไป สิ่งที่ควรพัฒนาคือการเก็บเด็ก การร้องเพลงและการใช้คำพูดกับเด็กหรือน้ำเสียงการจัดการอารมณ์ของตนเองเพราะเด็กมีคามแตกต่างกันมากฉะนั้นครูต้องมีการปรับและเปลี่ยนวิธีการพูด น้ำเสียงให้เข้ากับช่วงวัยของเด็ก
บันทึกหลังสอน
ตอบลบในสัปดาห์ที่ 3 พี่อนุบาลเรียนรู้เรื่องของสรระอุ และสระอู สิ่่งที่ทำได้ดีแล้วในสัปดาห์นี้ คือการวางแผนกิจกรรมไว้เพราะในขณะที่สอนนั้นเมื่อเด็กไม่พร้อมกิจกรรมไม่สามารถไปต่อได้ดั้งนั้นกิจกรรมที่เตรียมไว้จึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งการมีแผนสำรองไว้เป็นสิ่งที่ครูต้องเตรียมไว้ทุกครั้งที่สอนเพราะสถานการณ์ของแต่ละช่วงวันและเวลาและความพร้อมของเด็กก็จะแตกต่างกันไป สิ่งที่ควรพัฒนาคือการเก็บเด็ก การร้องเพลงและการใช้คำพูดกับเด็กหรือน้ำเสียงการจัดการอารมณ์ของตนเองเพราะเด็กมีคามแตกต่างกันมากฉะนั้นครูต้องมีการปรับและเปลี่ยนวิธีการพูด น้ำเสียงให้เข้ากับช่วงวัยของเด็ก